โครงสร้างของดีเอ็นเอ(Structure of DNA) ซึ่งกรดนิวคลีอิก ชนิด ดีเอ็นเอ (DNA,deoxyribonucleic acids) เป็นแหล่งในการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม (genetic information) ของสิ่งมีชีวิตโดย เจมส์ ดี. วัตสัน และ ฟรานซิส คริก (James D. Watson and Francis Crick) ได้สร้างแบบจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ (DNA) ดังนี้
1. มีสายพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide) 2 สาย ยึดกันโดยการจับคู่กันของเบส โดยในสายพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide) ปลาย 3’ ของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) หนึ่งจะจับกับปลาย 5’ ของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) อีกอันหนึ่ง แต่ละสายมีทิศทางจากปลาย 5’ ไปยัง 3’ เรียงตัวกลับสวนทิศทางกัน(Antiparallel)
2. เบสไทมีน(T) ยึดกับ เบสอะดีนีน(A) ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ double bonds ส่วน เบสไซโตซีน(C)ยึดกับเบสกัวนีน(G)ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสามหรือ triple bonds
3. พอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide) 2 สายพันกัน บิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนขวาโดยมี น้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)จับกับหมู่ฟอสเฟต(phosphate group) คล้ายเป็นราวบันได
4. ใน 1 รอบเกลียวของ ดีเอ็นเอ (DNA) ประกอบด้วย คู่เบส 10 คู่
5. เกลียวแต่ละรอบห่างเท่ากับ 34 Å (อ่านว่า อังสตรอม) หรือ 3.4 nm และพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide) 2 สาย มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 Å หรือ 2 nm แต่ละคู่เบสห่างกับ 3.4 อังสตรอม หรือ 0.34 nm เกลียวเอียงทำมุม 36 องศา
โดยพบว่า โครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)
ดีเอ็นเอ (DNA)เป็นสายโพลีนิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาเรียกว่า เกลียวคู่ (double helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายนี้ เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกันหรือพันกันในลักษณะทิศสวนทางตรงกันข้ามกัน(anti-parallel)ซึ่งพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide) สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide)ที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) ระหว่างหมู่ไฮดรอกซี่ (OH Group) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ของน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ตัวแรกและหมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group) ที่ต่อกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ของน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ตัวถัดไป โพลีนิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)ทั้ง 2 สายถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่เบส A(อะดีนีน, Adenine) จะเชื่อมกับเบส T (ไทมีน, Thymine)ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่(double bonds) และเบส C (ไซโตซีน, Cytosine) จะเชื่อมกับเบส G (กัวนีน, Guanine) ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสาม(triple bonds) และถ้าดีเอ็นเอ (DNA)เป็นสายปลายเปิด (open-end linear strand) ที่ปลายสายของดีเอ็นเอ(DNA)แต่ละข้างจะพบปลาย 3’-OH (hydroxy group) ของสายหนึ่งและปลาย 5’-OH ที่ต่อกับหมู่ฟอสเฟต (phosphate group) ของอีกสายหนึ่งเสมอ
ในสายของดีเอ็นเอ (DNA) มีร่อง (Groove) 2 แบบคือ ร่องขนาดใหญ่(major groove) และ ร่องดีเอ็นเอ(DNA) ประกอบด้วยเบสจำนวน 10 คู่เบส และ 1 รอบของดีเอ็นเอ(DNA)นี้ ห่างกัน 34 อังสตรอม(Å)หรือ 3.4 nm(นาโนเมตร) เบสแต่ละตัวห่างกัน 3.4 อังสตรอม(Å) หรือ 0.34 nm(นาโนเมตร) ความกว้างระหว่างสายหรือเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 20 อังสตรอม(Å)หรือ 2 nm(นาโนเมตร) เกลียวเอียงทำมุม 36 องศา โดยโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) ที่บอกรายละเอียดที่ผ่านมานี้ เป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) แบบที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วๆไปเรียกเป็นแบบ B-DNA โดยยังมีโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) อีก 2 แบบคือ A-DNA เป็นแบบเกลียวคู่วนขวาเช่นเดียวกับแบบ B-DNA แต่มีระยะห่างของคู่เบสและเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวคู่ของโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) แบบ A-DNA ต่างไปจากโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)ในแบบ B-DNA ส่วนโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)อีกแบบคือ แบบ Z-DNA เป็นดีเอ็นเอ(DNA)เกลียวคู่แบบวนซ้ายแบบซิกแซก โดยทั่วไปดีเอ็นเอ(DNA) ในสิ่งมีชีวิตเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) แบบ B-DNA ยกเว้นในบางสภาวะเช่น ที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงจึงเปลี่ยนเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA)เป็นแบบ Z-DNA
ที่มา :
http://www.thaibiotech.info/structure-of-dna.php
http://www.thaibiotech.info/structure-of-dna.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น